รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า สำนักสำรวจและออกแบบ ดำเนินโครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบ ทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางหลวงแนวใหม่ เชื่อมโยงทางหลวงหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพ-ทางหลวงหมายเลข 222 อุดรธานี-บึงกาฬ เริ่มต้นศึกษาวันที่ 1 มี.ค. 65-24 พ.ค. 66 ระยะเวลา 450 วัน งบศึกษา 96 ล้านบาท
โดยจัดประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ (สัมมนาครั้งที่ 3) จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 66 กลุ่มที่ 2 จ.หนองคาย เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 66 และ กลุ่มที่ 3 จ.บึงกาฬ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 66 พบว่าผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา 3 จังหวัด เห็นด้วยกับโครงการ เพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางเชื่อมระหว่าง จ.อุดรธานี และ จ.บึงกาฬ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย
โครงการมีระยะทาง 155.288 กิโลเมตร(กม.)แนวเส้นทางจุดเริ่มต้นที่ กม.424+465 ถนนมิตรภาพ พื้นที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี จุดสิ้นสุดโครงการบริเวณ ทล.244 ทางเลี่ยงเมืองบึงกาฬ ที่ดำเนินการก่อสร้างบริเวณ ต.วิศิษฐ์ จ.บึงกาฬ รูปแบบเป็นทางหลวงแนวใหม่ ขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ ช่องจราจรกว้าง 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอก กว้าง 2.50 เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 1.50 เมตร มีเกาะกลางแบบกดเป็นร่องแบ่งทิศทางการจราจร
นอกจากนี้ออกแบบจุดตัดทางแยกจำนวน 3 จุดดังนี้ 1.ทางแยกต่างระดับบริเวณจุดตัดกับ ทล.2 (จุดเริ่มต้นโครงการ) บริเวณ กม.424+465 ถนนมิตรภาพ ออกแบบเป็นลักษณะทางแยกต่างระดับรูปตัวTหรือทรัมเปต (Trumpet Type)มีสะพานยกระดับแบบกึ่งตรง (Semi-Directional Ramp)ในทิศทางเลี้ยวขวา จาก จ.ขอนแก่นเข้าสู่ถนนโครงการ และมีทางเลี้ยววน (Loop Ramp)จากถนนโครงการทิศทางเข้าสู่ จ.อุดรธานี
2.ทางแยกต่างระดับบริเวณจุดตัดกับ ทล.22 อยู่ที่บริเวณ กม.ที่ 24+673 ของแนวเส้นทางโครงการกับ ทล.22 บริเวณ กม.30+095 ออกแบบเป็นทางแยกต่างระดับแบบพาร์เชียล โคลเวอร์ลีฟ (Partial Cloverleaf Interchange) เป็นสะพานยกระดับบนถนนโครงการ ข้าม ทล.22 และมีทางเลี้ยวขวาแบบกึ่งตรง (Semi-Directional Ramp) ในทิศทางเลี้ยวขวาจากถนนโครงการเข้าสู่ ทล.22 ไป จ.สกลนคร และในทำนองเดียวกันในฝั่งทิศทางมาจาก จ.บึงกาฬ มีทางเลี้ยวขวาแบบกึ่งตรง (Semi-Directional Ramp) ในทิศทางเลี้ยวขวาจากถนนโครงการเข้าสู่ ทล.22 ไปยัง จ.อุดรธานี นอกจากนี้ออกแบบให้มีทางเลี้ยววน (Loop Ramp) ในทิศทางจาก ทล.22 เข้าสู่ถนนถนนโครงการไปยัง จ.ขอนแก่น และทางเลี้ยววนในทิศทางจาก ทล.22 เข้าสู่ถนนโครงการไปยัง จ.บึงกาฬ
3.ทางแยกต่างระดับบริเวณจุดตัดกับทางหลวงเลี่ยงเมืองบึงกาฬ (จุดสิ้นสุดโครงการ) อยู่ที่บริเวณ กม.ที่ 155+542 ของแนวเส้นทางโครงการบรรจบกับ กม.ที่ 2+772 ของแนวการก่อสร้างทางหลวงเลี่ยงเมืองบึงกาฬ ออกแบบเป็นลักษณะทางแยกต่างระดับ รูปตัว T หรือทรัมเปต โดยมีสะพานยกระดับแบบเลี้ยวกึ่งตรง ในทิศทางเลี้ยวขวาจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 เข้าสู่ถนนโครงการ และมีทางเลี้ยววนจากถนนโครงการทิศทางเข้าสู่ทางเลี่ยงเมืองบึงกาฬ เพื่อไป จ.บึงกาฬ โดยทางแยกต่างระดับทั้ง 3 แห่ง จะมีงานสถาปัตยกรรมออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ เน้นปลูกต้นไม้ซึ่งใช้ต้นไม้ท้องถิ่นเป็นหลัก
ทั้งนี้มีทางแยกบริเวณจุดตัดกับทางหลวงท้องถิ่น 7 แห่ง มีสะพานข้ามทางรถไฟ แนวเส้นทางโครงการตัดกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ที่ กม.1+207 และตัดกับโครงการรถไฟทางคู่สายอีสาน ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ที่ กม.1+527 รวมทั้งมีจุดกลับรถตลอดแนวเส้นทาง 31 แห่ง อาคารระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง และจุดพักรถ 1 แห่ง อยู่ที่ กม.103+550 ต.เฝ้าไร่ อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย
ส่วนพื้นที่เวนคืนประมาณ 7,000 ไร่ ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี หนองคาย และบึงกาฬ จำนวน 10 อำเภอ 29 ตำบล วงเงินค่าเวนคืนประมาณ 3,500 ล้านบาท และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) สำหรับงบประมาณโครงการประมาณ 20,000 ล้านบาท หากภาครัฐสนับสนุบงบประมาณก่อสร้างเริ่มกระบวนการเวนคืนที่ดิน มีขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิและจ่ายค่าเวนคืนที่ดิน คาดใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี เมื่อแล้วเสร็จคาดเริ่มก่อสร้างประมาณปี 69 เปิดบริการปี 71-72 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี
เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะส่งเสริมโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางถนน จ.อุดรธานี เชื่อมไป จ.บึงกาฬ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ร่นเวลาการเดินทางกว่า 2 ชมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. จากปัจจุบันการเดินทางอุดรธานี-บึงกาฬ ระยะทาง 230 กม. ใช้ระยะเวลา 3 ชม. ครึ่ง ลดเหลือ 155 กมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชม. 20 นาที ลดปัญหาการจราจรติดขัดที่ผู้ใช้ทางต้องผ่านพื้นที่ชุมชนเมือง รองรับการขยายตัวและเติบโตทางเศรษฐกิจ เกิดการพัฒนาในพื้นที่ที่โครงการตัดผ่าน และส่งเสริมการขนส่งสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ ผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)