สำหรับคนทำงานแล้ว เรื่องของการ “ลาออก” เป็นสิ่งที่น่าลำบากใจเสมอ จะพูดกับหัวหน้าอย่างไร? ถ้าหัวหน้าไม่อยากให้เราออกจะทำอย่างไร? แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ไทย แม้แต่ต่างประเทศ โดยเฉพาะ “ญี่ปุ่น” ซึ่งมีวัฒนธรรมการทำงานที่เข้มงวด เกรงอกเกรงใจ กว่าจะลาออกได้ก็นับเป็นความลำบากใจมหาศาล
หนึ่งในนั้นคือ นิอิโนะ โทชิยูกิ ชาวเมืองคามาคุระ ซึ่งเมื่อหลายปีก่อนต้องการลาออกจากงานเพราะไม่มีความสุข แต่เขาก็เจออุปสรรคในการรวบรวมความกล้าเพื่อเผชิญหน้ากับเจ้านายของเขา
นิอิโนะรู้ว่าการตัดสินใจของเขาจะต้องเผชิญกับการต่อต้าน “เมื่อคุณพยายามจะออกจากงาน มันจะทำให้คุณรู้สึกผิด … พวกเขาพยายามทำให้คุณอับอายและรู้สึกผิดที่คุณลาออกจากงานในเวลาไม่ถึง 3 ปี มันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมาก”
ประสบการณ์ของนิอิโนะ ทำให้ตัวเขาและ โอคาซากิ ยูอิจิโร เพื่อนสมัยเด็ก มีความคิดริเริ่มขึ้นมาว่า จะดีกว่าหรือไม่ หากคนจะลาออกสามารถหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดของการลาออกจากงานได้ โดยให้ “คนอื่นลาออกแทน”
นั่นคือจุดเริ่มต้นของ “Exit” สตาร์ทอัปเพื่อคนต้องการลาออก ที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการยื่นเรื่องลาออกในนามของพนักงานญี่ปุ่นที่อึดอัดใจหรืออายเกินกว่าจะลาออกด้วยตัวเอง
บริษัทคิดค่าธรรมเนียม 20,000 เยน (ราว 5,000 บาท) จากนั้น Exit จะติดต่อนายจ้างของลูกค้าเพื่อแจ้งให้ทราบถึงการตัดสินใจลาออก ช่วยให้พนักงานหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับผู้บังคับบัญชาอันอาจก่อให้เกิดความวิตกกังวล
ชายจีนวัย 56 ปี ไม่ย่อท้อ ร่วมสอบเอ็นทรานซ์ครั้งที่ 27
จุดกำเนิดของ “การช่วยตัวเอง” มีมาตั้งแต่ 40 ล้านปีก่อน!
นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2017 โมเดลธุรกิจของ Exit ได้มีบริษัทอื่น ๆ นำไปใช้ เกิดบริษัทรับจ้างลาออกมากกว่า 20 แห่ง กลายเป็นอุตสาหกรรมเฉพาะในญี่ปุ่นที่น่าสนใจมาก
นิอิโนะกล่าวว่า ลูกค้าของเขาส่วนใหญ่เป็นผู้ชายในช่วงอายุ 20 ปี และธุรกิจของเขามีคนติดต่อเข้ามาประมาณ 10,000 ครั้งในแต่ละปี แม้ว่าจะไม่ใช่ทุกคนที่จะตัดสินใจใช้บริการในท้ายที่สุดก็ตาม
“เหตุผลหลัก 2 ประการที่ผมเห็นคือ พวกเขากลัวเจ้านายของพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สามารถพูดตรง ๆ ได้ว่าพวกเขาต้องการลาออก อีกประการหนึ่งคือความรู้สึกผิดจากการที่พวกเขาต้องการลาออก” เขากล่าว
นิอิโนะเชื่อว่า ความนิยมของบริการนี้อาจเกี่ยวข้องกับแง่มุมของวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ไม่สนบัสนุนให้เกิดความไม่ลงรอยกันในองค์กร และส่งเสริมแนวคิดที่ว่า ความสำเร็จต้องอาศัยความมุ่งมั่นในระยะยาว
“ถ้าคุณล้มเลิกทำหรือทำไม่สำเร็จ มันเหมือนกับเป็นบาป มันเหมือนกับว่าคุณทำผิดพลาดบางอย่าง” นิอิโนะกล่าวคำพูดจาก สล็อต777
ญี่ปุ่นเป็นประเทศซึ่งการจ้างงานตลอดชีพถือเป็นเรื่องปกติในศตวรรษที่ 20 และเป็นที่รู้จักมาช้านานในเรื่องวัฒนธรรมการทำงานที่มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน
“คาโรชิ” (Karoshi) เป็นคำที่บัญญัติขึ้นในช่วงปี 1970 เพื่ออธิบายการเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไป ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตหลายร้อยรายในแต่ละปี ทั้งจากโรคหัวใจและหลอดเลือด และการฆ่าตัวตายจากความเครียด
แม้ว่าระบบการจ้างงานตลอดชีพแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นจะอ่อนแอลงในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา แต่พนักงานชาวญี่ปุ่นยังคงเปลี่ยนบริษัทไม่บ่อยนักและยอมรับรายได้ตามความอาวุโสมากกว่าเมื่อเทียบกับพนักงานในประเทศอื่น ๆ
อย่างไรก็ดี แม้ Exit จะเข้าถึงความต้องการที่คนญี่ปุ่นไม่เคยได้รับมาก่อน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่ประทับใจกับอุตสาหกรรมนี้
ทาคาฮาชิ โคจิ ผู้จัดการบริษัทวิศวกรรมในโตเกียว รู้สึกตกใจมากเมื่อได้รับโทรศัพท์จาก Exit แจ้งว่า มีพนักงานรุ่นน้องต้องการลาออกจากงานหลังจากทำงานได้ไม่กี่วัน และเขาถึงกับต้องไปเยี่ยมพ่อแม่ของพนักงานรายนี้เพื่อยืนยัน
“ผมให้นามบัตรกับผู้ปกครอง แนะนำตัวเองว่าเป็นผู้จัดการอาวุโสของบริษัทที่ลูกชายเพิ่งเข้าบริษัท และอธิบายสถานการณ์ ผมบอกพวกเขาว่า ผมจะยอมให้เขาลาออกตามที่ต้องการ แต่อยากให้เขาติดต่อผทก่อนเพื่อยืนยันความปลอดภัยของเขา”
ทากาฮาชิกล่าวว่า การตัดสินใจของพนักงานที่จะใช้คนกลางในการติดต่อเรื่องการลาออกนั้น ส่งผลเสียต่อความประทับใจในบุคลิกลักษณะของพนักงานคนนั้น ๆ
“ผมคิดว่าถ้าใครลาออกโดยไม่ใช้บริการแบบนี้ไม่ได้ ก็เป็นความสูญเสียของพวกเขาเอง และเป็นคนนิสัยไม่ดีที่มองว่างานเป็นเพียงหนทางหาเงิน” เขากล่าว
เรียบเรียงจาก Al Jazeera
ภาพจาก AFP