ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนร่วมไขคดีฆาตกรรมปริศนา ผ่านคำให้การของฆาตกร ที่เคยเกิดขึ้นจริงในชิคาโก้ สหรัฐอเมริกา เมื่อ 99 ปีก่อน กับคำให้การที่บอกว่า แรงจูงใจมีเพียงแค่ความเร้าใจแท้จริงเชื่อได้ขนาดไหน ก่อนจะพาไขคดีพร้อมเสียงเพลงใน 'Thrill Me The Musical' ละครเวทีมิวสิคัลพีพีทีวีชวนถอดรหัส คำให้การของฆาตกร ค้นหาความจริงของคดีที่ถูกขนานนามว่าเป็น "อาชญากรกรรมแห่งศตวรรษ"
ชวนร่วมไขคดีฆาตกรรมปริศนา
- เรื่องจริงก่อนเป็น Thrill Me
- ภาพรวมการแสดง “Thrill Me The Musical”
- เรื่องเล่าของฆาตกร Thrill Me The Musical ของ คณะอักษรฯ
- ถอดรหัส คำให้การของฆาตกร
- Exclusive หลังม่านการแสดง คุยกับผู้กำกับ
เรื่องจริงก่อนเป็น Thrill Me
“Thrill Me: The Leopold & Loeb Story” เขียนโดย Stephen Dolginoff (สตีเว่น ดอลกานอฟ) นักเขียนบทละครชาวอเมริกัน เจ้าของผลงาน Off-Broadway musical ชื่อดังที่ได้ แรงบันดาลใจจากคดีฆาตกรรม บ๊อบบี้ แฟรงค์ ลูกชายมหาเศรษฐี วัย 14 ปี ณ เมืองชิคาโก หายตัวไประหว่างเดินทางกลับจากโรงเรียน ต่อมาครอบครัวของบ๊อบบี้ แฟรงค์ได้รับจดหมายเรียกค่าไถ่เป็นจำนวนมาก และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้คนให้ความสนใจคดีนี้จนตำรวจสามารถตามจับกุมตัวผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ได้สำเร็จ เรียกได้ว่าเป็น “อาชญากรรมแห่งศตวรรษ” เนื่องจากเป็นคดีฆาตกรรมที่ถูกกล่าวขวัญว่า “ไร้แรงจูงใจ” เพราะ “ทำไปเพื่อความสนุกเร้าใจ” โดยคนสองคน คือ นาธาน ลีโอโพลด์ และ ริชาร์ด โลบ
ภาพรวมการแสดง “Thrill Me The Musical”
ทริลมี เดอะมิลสิคคัล (Thrill Me The Musical) เป็นหนึ่งในการแสดง ที่เรียกได้ว่าต้องใช้ความรู้และความสามารถจากหลายทักษะ ตั้งแต่การร้อง การแสดงออกท่าทาง และการสื่อสารด้วยคำพูด ส่งต่อเรื่องราวของตัวละคร ให้ผู้ชมมีประสบการณ์ร่วมกันตลอดระยะเวลาการแสดง 1 ชั่วโมง 30 นาที ความน่าสนใจ และความเร้าใจ ในประเด็นนี้คือ ทุกเรื่องราวถูกนำเสนอผ่าน นักแสดงเพียง 3 คน ได้แก่ กาย – ทรงสินธ์ ศิริคุณารัศม์ รับบท นาธาน ลีโอโพลด์ และ แทน – เท่าฟ้า มณีประสพโชค รับบทเป็น ริชาร์ด โลบ อีกหนึ่งคนที่แม้ไม่ได้ปรากฎตัวบนเวที แต่ขาดไม่ได้ คือ นักเปียโนที่บรรเลงดนตรีประกอบ เฟรนด์ – วริสรา ตระกูลมณี
กำกับการแสดงโดย ภัสสร์ศุภางค์ คงบำรุง อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยฝากผลงานกำกับไว้ใน Blink (2565), The Children’s Hour, Breaking the Code, An Inspector Calls และ The Pillowman
แปลคำร้องเป็นภาษาไทย โดยนักแปลเพลงมือฉมัง ธานี พูนสุวรรณ เจ้าของผลงานแปลเพลงในภาพยนตร์การ์ตูน จากค่ายดิสนีย์ เช่น Disenchanted, Encanto, Frozen ฯลฯ และผลงานแปลเพลงมิวสิคัลเรื่องดัง มิสไซง่อน กำกับการร้องและดนตรี โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จารุณี หงส์จารุ
เรื่องเล่าของ ฆาตกร “Thrill Me The Musical”
บทละครเล่าด้วยคำให้การของ "นาธาน" ฆาตกรในคดีฆาตกรรมอำพราง โดยคำให้การในครั้งนี้ นาธาน เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจ เพื่อจะได้พักโทษและออกจากคุก นาธานเล่าย้อนไปเมื่อครั้งที่รู้จักกับ “ริชาจ” เพื่อนชายที่มี ความสัมพันธ์สนิทและรู้ใจ และเซ็กซ์ เมื่อต้องแยกย้ายไปเติบโตในเส้นทางของตัวเอง สถานการณ์ความสัมพันธ์กลับไม่ดีนักคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
และได้กลับมาพบกันอีกครั้งหลังจบจาก สถาบันกฎหมาย ริชาจ ชวน นาธาน ก่อเหตุเผาโกดัง โดยมีเหตุผลด้วยการทำเรื่องที่ เร้าใจ การก่อเหตุครั้งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของ "สัญญาประทับเลือด" ที่ริชาจ บังคับให้ นาธาน เซ็นสัญญา โดยมีการระบุว่า "เพื่อแลกกับความชำนาญของนาธาน ริชาจจะตอบสนองความต้องการทางเพศ"
เส้นทางของฆาตกรเริ่มต้นขึ้นเมื่อ ริชาจ ต้องการก่ออาชญากรรมที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่น่าจดจำ และนั่นคือการ ลักพาตัวเรียกค่าไถ่ และฆาตกรรมอำพรางริชาจพอใจกับอาชญากรรมในครั้งนี้มาก จึงยกย่องคุณธรรมของการเป็น "ผู้เหนือชั้น" แก่นาธานผู้สั่นคลอน เรื่องราวของการทรยศหักหลัง และการเล่นกับช่องโหว่ของกฎหมายจึงเปิดฉากขึ้น หลังนาธานถูกจับ และเพื่อตัดขาดความสัมพันธ์กับนาธาน ริชาจเปิดตัวว่าเป็นทนาย
ความไว้ใจเปลี่ยนเป็นความระแวง นาธานรู้สึกถูกหักหลังจากให้ความร่วมมือกับอัยการ พร้อมเปิดเผยว่าความจริงกับริชาจว่า ภายใต้แผนที่รอบคอบนั้น นาธานซ่อนจุดประสงค์ที่สำคัญบางอย่าง จนริชาจไม่สามารถ รอดพ้นออกจากแผนการนั้นได้!…และแผนที่รอบคอบของนาธาน คือสิ่งสำคัญที่ทำให้ ทั้งคู่ ถูกตัดสินให้เป็นฆาตกรแห่งศตวรรษ …เรื่องราวทั้งหมด ถูกเล่าผ่านนาธาน ฆาตกรที่ถูกพักโทษในที่สุด
ถอดรหัสคำให้การของฆาตกร
แม้ว่าจะเป็นเพียงบทละครเวที แต่เราก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า บางช่วงบางตอน ที่ผู้กำกับ และนักแสดง ต้องการสื่อสารบางอย่างผ่าน การแสดง และพีพีทีวีแกะรหัส ความเร้าใจ แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการฆาตกรรม เอาไว้แล้ว
- นาธาน กำลังใช้กลไกปกป้องตัวเอง (EGO) ด้วยการโทษ ริชาจ ?
คำถามสำคัญ ที่อดคิดไม่ได้คือ เราสามารถเชื่อ เรื่องราวทั้งหมดนี้ได้มากขนาดไหนกันนะ เพราะตั้งแต่ต้นจบจบ ผู้ชมนั้นรับรู้แค่ คำให้การของ นาธาน เพียงฝั่งเดียวเท่านั้นและบางครั้งอาจจะรู้สึกได้ว่า นาธานกำลังใช้กลไกบางอย่าง เพื่อปกป้องตัวเอง (EGO) เรียกว่า การโทษคนอื่น (Projection) ซึ่งเป็นระบบทางสมอง เป็นหนึ่งในกลไกการป้องกันตนเองที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความผิด
ในเรื่อง Thrill Me นาธาน อาจจะเปลี่ยนสารบางอย่างในคำให้การครั้งสุดท้าย ให้เรารู้สึกว่า ริชาจเป็นคนบังคับให้นาธานเป็นฆาตกร (แบบที่นาธานไม่เต็มใจ) ก็ยังเป็นไปได้ว่า นาธาน อาจใช้กลไกของการปกป้องตัวเอง (EGO) เพื่อให้ตัวเองได้อยู่เหนือกว่าริชาจ ด้วยอุดมการณ์ที่ว่า “ฉันมักจะเดินนำนายไปก้าวหนึ่งเสมอ” จนในสุดท้ายของการแสดงบทละครและการสื่อสารทางสีหน้าก็ยังทำให้เราตั้งคำถามว่า ตอนนี้นาธานยังก้าวนำหน้าริชาจ อยู่หรือเปล่า? (อย่างไรก็ตาม คดีดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงสามารถค้นเอกสารสำนวนคดีฆาตกรรม บ๊อบบี้ แฟรงค์) EGO หมายถึง "อัตตา" หรือ "การถือตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ" ผู้คิดค้นและใช้คนแรก คือ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาวิชา จิตวิทยาชาวออสเตรีย โดย คำว่า EGO ถูกใช่ใน ทฤษฎี ผู้เขาน้ำแข็ง เพื่ออธิบาย ทฤษฎีบุคลิกภาพ ของมนุษย์
- การใช้อำนาจของ ริชาจ ภายใต้ปรัชญา ของ นิเช่
แน่นอนว่าเกือบทั้งเรื่อง เรามักได้ยินการกล่าวถึง นิเช่ จากคำเล่าของนาธาน และปรัชญาของ นิเช่ คือแรงบันดาลใจการใช้ชีวิตของ ริชาจ (จากคำให้การของนาธาน) อย่างไรก็ตาม จริยศาสตร์ของนิเช่ไม่ได้บอกให้เราเป็นฆาตกร นิเช่ บอกแค่ว่า ในโลกแห่งทุนนิยมนั้น ไม่มีศีลธรรมที่ตายตัว เพราะศีลธรรมนั้น เป็นเรื่องของอำนาจทั้งสิ้น การตัดสินว่า ใครดี และ เลว ผู้ที่มีอำนาจเท่านั้นเป็นคนตัดสินอำนาจกำหนดกรอบ และการตีกรอบให้กับศีลธรรมในสังคม ปรัชญาของนิเช่ จึงเป็นแนวคิดแบบ อัตนิยม ในบทละครของ Thrill Me ริชาจ จึงอยากเป็นผู้มีอำนาจ เพื่อตีกรอบให้สังคม กำหนดค่าความดีและเลวใหม่ ในฐานะของนักฎหมาย
- สำรวจช่องโหว่ของกฎหมายผ่าน “Thrill Me The Musical”
สิ่งเดียวที่รู้สึกได้ตลอดการแสดงคือ ทั้งริชาจ และ นาธาน ต่างไม่กลัวระบบความยุติธรรม และพยายามก้าวข้ามขีดจำกัดของศีลธรรมของมนุษย์ เพราะรู้ว่าตัวเองไม่มีทางโดนจับได้ แม้ในตอนสุดท้ายที่ นาธาน ได้เฉลยเรื่องราวทั้งหมด เขาก็ยังไร้ความเกรงกลัวต่อระบบยุติธรรม นั่นอาจเป็นเพราะ ริชาจ เป็นนักกฎหมาย ตั้งตนตีกรอบศีลธรรมใหม่ และนาธาน ที่เป็นลูกของผู้มีอิทธิพลในชิคาโกช่วงนั้น (ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเป็นนักการเมืองท้องถิ่น) แม้นาธานจะเล่าว่าตัวเองลังเลอยู่บ้าง แต่ก็รับรู้ได้ว่า ความกลัวของเขาที่มีต่อระบบยุติธรรมยังไม่มากพอ
อย่างไรก็ตาม บทละครและการสื่อสารของนักแสดงชวนให้มองสะท้อนกลับมาในสังคมไทยว่า ในระบบอุปถัมภ์ ระบบจ่ายส่วยเพื่อปกปิดความผิด ก็ยังคงอยู่ และผู้ที่ใช้อภิสิทธิ์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือผู้มีอิทธิพลในประเทศ และผู้ที่มีความสามารถด้านการใช้กฎหมาย
“Thrill Me The Musical” ชวนตั้งคำถามว่าในประเทศไทยล่ะ มีกี่คดีที่ถูกปิดตายเพราะความเสื่อมถอยของระบบเหล่านี้
แน่นอนว่า รหัสเล่านี้จะถอดออกมาไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการสื่อสารที่ดีเยี่ยมจาก นักแสดง ทุ่มเทสื่อสารเนื้อเรื่องออกมาจนลุ้นตามทุกวินาที และการกำกับการแสดงแบบเปิดพื้นที่ผู้ชมจินตนาการพร้อมตั้งคำถามกับสิ่งที่ได้ชมไป
อย่างไรก็ตามการตีความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ พีพีทีวีนิวมีเดียเท่านั้น เพราะทุกการรับรู้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ร่วมของผู้รับชมเอง นี่คือจุดประสงค์หลักที่ผู้กำกับได้ตั้งใจเอาไว้
Exclusive หลังม่านการแสดง กับผู้กำกับ Thrill Me The Musical
ละครเวทีจบ แต่ความรู้สึกยังไม่จบ พีพีทีวีชวน พูดคุยกับผู้กำกับการแสดง ภัสสร์ศุภางค์ คงบำรุง อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบบ Exclusive หลังเวที
-
ทำไมต้องเรื่องนี้ Thrill Me
ภัสสร์ศุภางค์ ผู้กำกับเล่าว่า บทละครเรื่อง Thrill Me นั้นประทับใจตั้งแต่เริ่มอ่านบทละคร ทั้งเรื่องราว และมิติของตัวละคร กับบริบททางสังคมที่ยังไม่ยอมรับ Homosexual หรือ ‘รักร่วมเพศ’ การนำประเด็นเล่านี้กลับมาเล่าในยุคที่เปิดกว้าง จึงรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัว และเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าใจได้ ถ้าผู้ชมเข้าใจว่า ในบริบทนี้ บริบทของการแสดงมีฉากหลังเป็นปี 1924 เราอาจมอง และตั้งคำถามว่า ทำไมพวกเขาถึงต้องทำและคิดแบบนี้ และมีปัจจัยอะไร ที่เป็นแรงจูงใจให้พวกเขาต้องทำและลงเอยด้วยการติดคุก แต่ถ้ามองกลับมาว่า เป็นเหตุการณ์ในปัจจุบัน ก็อาจมองได้ว่า มันคือรูปแบบของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นได้ในสังคมทั่วไป สิ่งที่สำคัญทำให้สนใจคือ อะไรที่ทำให้เขาเลือกทำ
- ความท้าทายใน Thrill Me The Musical คืออะไร
ผู้กำกับเปิดเผยว่า โดยปกติแล้ว ละครเวที คณะอักษรฯ จุฬา มักเลือกจากบทละครที่มุ่งเน้นในมิติของตัวละคร ตัวละครต้องมีมิติมากพอให้หันกลับไปมองเห็นตัวเองและคนรอบข้าง ในเรื่อง Thrill Me นี้ ถือว่าเป็นความท้าทาย ที่ตัวละครหลักเป็น ฆาตกร เพราะเปิดโอกาสให้ได้สำรวจความคิดและ รู้จักกับ ฆาตกร มันน่ากลัวและท้าทาย แต่เมื่อออกมาแล้วก็ต้องยอมรับว่าเราได้เรียนรู้ ได้เข้าใจมนุษย์มากขึ้น ด้านนิสิตจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากบท จากตัวละครที่เลือกมา
- อนาคตของละครเวทีไทย อีกหนึ่ง Soft Power
เมื่อพูดถึงประเด็นของละครเวที พีพีทีวีจึงชวน ภัสสร์ศุภางค์ ผู้กำกับ Thrill Me The Musical พูดถึง อนาคตของละครเวทีของประเทศไทยในมุมของอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์
ละครเวทียังเป็นศาสตร์ที่มีคนดู และต้องการแรงสนับสนุนเหมือนอุตสาหกรรมอื่น ยกตัวอย่างในหลายประเทศ ที่ละครเวทีสามารถทำโปรดักชั่นใหญ่อลังการได้ หรือมีกำไรจากการขายตั๋ว เป็นเพราะเขาได้รับการผลักดันจากภาครัฐ ที่ถือเป็นส่วนสำคัญ เพราะหากได้รับการผลักดัน มีเงินทุนก็สามารถผลิตบุคคลากรที่มีศักยภาพเพื่อตอบโจทย์ในอุตสาหกรรม ภัสสร์ศุภางค์กล่าว
อย่างไรก็ตามใน “Thrill Me The Musical” ยังมีปมและประเด็นที่น่าสนใจมากกว่า ที่พีพีทีวีถอดมานำเสนอ ทั้งประเด็นความรักและมิตรภาพของนาธานและริชาจ, บริบทของสังคมที่เหลื่อมล้ำจนแถบจะถดถอยในชิคาโก้ หรือ ความเร้าใจที่แท้จริง ก็ยังเป็นประเด็นที่น่าหาคำตอบอยู่ และผู้ชมสามารถถกเถียงและแสดงความคิดเห็นในรูปแบบที่เราเข้าใจได้เสมอ
- ภาพจาก PR Thrill Me The Musical
- เรียบเรียง และรวบรวมข้อมูลจาก Freud’s Theory, หนังสือ Beyond Good and Evil (1886)