โหวตนายก – ประชุมรัฐสภา จับตา "เศรษฐา ทวีสิน" ลุ้นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2566 มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 4 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1) โดยมีวาระสำคัญ คือ การพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

ซึ่งก่อนหน้านี้ พรรคเพื่อไทย มีมติเสนอชื่อ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ของพรรค เป็นบุคคลสมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ปัจจุบันรัฐสภามีสมาชิกรวม 747 คน เสียงเกินกึ่งหนึ่งสำหรับการโหวตนายกรัฐมนตรี จะต้องได้ 374 เสียง

 โหวตนายก - ประชุมรัฐสภา จับตา "เศรษฐา ทวีสิน" ลุ้นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30

“เศรษฐา”ผ่านด่านสว. นั่งนายกฯ

จากนั้นเวลา 16.49น. สมาชิกรัฐสภาที่ลงมติเห็นชอบให้นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี มีจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาเท่าที่มีอยู่ (เกิน 374 เสียง)

เวลา 17.06 น. ระหว่างการโหวตลงคะแนน เกิดเหตุการณ์ที่น่าตกใจขึ้น เมื่อสส. ในฝั่งที่นั่งของพรรคก้าวไกล หมดสติภายในห้องประชุมรัฐสภา จนทำให้ที่ประชุมรัฐสภาเกิดความวุ่นวายชั่วขณะ จากนั้นทีมแพทย์ประจำรัฐสภาได้เข้ามาปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว

กระทั่งเวลา 17.39 น. ที่ประชุมรัฐสภาจบการลงมติ โดยประธานรัฐสภาแจ้งผลการลงมติว่า มีเสียงเห็นชอบ 482 เสียง ไม่เห็นชอบ 165 เสียง งดออกเสียง 81เสียง นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จากนั้นประธานได้ปิดการประชุม

เริ่มกระบวนการโหวตนายกฯ

เวลา 15.10 น. สมาชิกรัฐสภาอภิปรายครบตามกรอบเวลา ประธานรัฐสภาจึงปิดการอภิปราย เพื่อออกเสียงลงคะแนนต่อไป โดยเป็นการลงคะแนนอย่างเปิดเผย โดยเรียกชื่อตามลำดับอักษรและลงคะแนนเป็นรายคน โดยประธานรัฐสภาแจ้งว่า มติที่จะเห็นชอบการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ คือ 374 เสียง เป็นต้นไป

จากนั้นเวลา 15.21 น. ประธานรัฐสภาแจ้งว่ามีผู้แสดงตนเข้าร่วมประชุม จำนวน 705 คน จากจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 747 คน จากนั้นประธานรัฐสภาให้เริ่มการออกเสียง

เตรียมโหวตนายกฯ บ่ายสาม

เวลา 14.10 น. นายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสถา แจ้งต่อที่ประชุมรัฐสภาว่า ขณะนี้ผู้อภิปรายในส่วนของ สว.เหลือ 4 คน โดยเหลือเวลาประมาณ 30 นาที ขณะที่ผู้อภิปรายในส่วนของ สส.เหลือไม่เกิน 4 คน โดยคาดว่าจะใช้เวลา 40 นาที หลังจากนั้นจะลงมติ 15.30 – 15.45 น.

จากนั้นเวลา 14.22 น. นายเสรี สุวรรณภานนท์ สว. อภิปรายว่า การโหวตนายเศรษฐา แม้ตอนแรกฟังเสียงเหมือนจะไม่ผ่าน แต่เชื่อได้ว่าแนวโน้มของนายเศรษฐามีแนวโน้มสูงที่จะผ่าน แต่ก็ยังไม่ทราบว่าคะแนนจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้จริงๆ แล้วอยากฟังวิสัยทัศน์ของนายเศรษฐา เพราะอยากถามนโยบายหลายเรื่อง อาทิ นโยบายเงินดิจิทัลจะหาเงินจากไหน จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างไร นอกจากนั้นก็อยากให้พรรคร้วมจัดตั้งรัฐบาลพูดให้ชัดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะแก้เรื่องสถาบันด้วยหรือไม่ อยากให้พูดให้ชัดรวมทั้งเรื่องที่ถูกกล่าวหาก็ควรออกมาชี้แจง เพราะการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่มีเรื่องเหล่านี้อยู่ถือเป็นทุกขลาภ แม้จะผ่านไปได้ แต่ก็จะถูกตรวจสอบเรื่องคุณสมบัติไม่จบไม่สิ้น และเป็นห่วงว่าจะประสบเคราะห์กรรมในอนาคตข้างหน้า

เวลา 14.30 น. พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช สว. อภิปราย ว่าตอนนี้มีกระแสข่าวที่มีการกล่าวหาว่า สว.มีการแจกกล้วย ตอนขอยืนยันว่าตนไม่เชื่อว่าจะมี สว.แม้แต่คนเดียวไปรับกล้วยจากผู้หนึ่งผู้ใด และไม่คิดว่าจะมีใครนำกล้วยมาแจกให้ สว.เพื่อลงมติให้ผู้ถูกเสนอชื่อจากพรรคเพื่อไทย จึงอยากเตือนว่าการชี้นำการกล่าวหาของสื่อ ต้องระมัดระวัง มีปัญหาค่อนข้างมาก มีการใช้ชื่อย่อใช้วิธีการต่างๆ ที่ทำให้การทำงานของ สว.เป็นไปอย่างยากลำบาก อย่างไรก็ตามตนไม่ขัดข้องที่สนับสนุนผู้ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคเพื่อไทย เพื่อให้ประเทศเดินต่อไปได้ และฝากให้พรรคร่วมรัฐบาลพิจารณาให้รอบคอบเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันเช่นเดียวกับในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และต้องดำเนินการอย่างรัดกุม

โหวตนายก : "วิวรรธน์" เผยได้ยินข่าวไม่ดี มีการแจกกล้วยให้เพื่อน สว.

“วันนอร์”ฟาดเดือด! สส.ก้าวไกล หลังพาดพิงรู้เห็นเป็นใจกับเสียงข้างมาก

จากนั้นเวลา 14.50 น. นพ.ชลน่าน อภิปรายสรุปและตอบข้อซักถามสมาชิกรัฐสภา ตอนหนึ่งว่า ในประเด็นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และเรื่องจริยธรรมของนายเศรษฐานั้น พรรคเพื่อไทยได้ตรวจสอบลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญ 160 อย่างถี่ถ้วนครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้การที่กล่าวหาว่าเลี่ยงภาษีหรือตั้งนอมินีรองรับการซื้อที่ดิน ยืนยันว่าไม่มีเรื่องใดที่มีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ว่านายเศรษฐาไม่มีความซื้อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ส่วนประเด็นเรื่องจุดยืนทางการเมืองและพฤติกรรมการจัดตั้งรัฐบาลนั้น ยืนยันว่าพรรคเพื่อไทยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และรัฐสภา แม้ที่ผ่านมาเรามีการแบ่งแยกทางความเห็นมีความแตกต่างทางความคิด ซึ่งที่ผ่านมาเราเห็นความเสียหายจากความขัดแย้ง พรรคเพื่อไทยจึงอาสาสลายความขัดแย้ง และจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับทุกฝ่าย เพื่อแก้วิกฤติของประเทศและวิกฤติความขัดแย้ง

ส่วนข้อห่วงใยเรื่องนโยบายการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นโยบายรับบาลจะมีการร่วมกันจัดทำนโยบายแถลงต่อรัฐสภาหลังจากนี้ และสิ่งที่สะท้อนมาจะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การเขียนนโยบายรัฐบาล ยืนยันจะแก้รัฐธรรมนูญบนพื้นฐานที่จะไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง โดยจัแก้รับธรรมนูญเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมี สสร.ขึ้นมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ

"โอกาสนี้หากทุกท่านมอบความไว้วางใจให้นายเศรษฐา จะเป็นจุดเริ่มต้นนำความเห็นต่างมาเป็นความเห็นร่วมและหันหน้าเข้าหากัน เพื่อทำงานร่วมกัน"นพ.ชลน่านกล่าว

อภิปรายเดือดกลางสภา

ขณะที่การอภิปรายในสภาเป็นการสลับกันระหว่าง สว. และ สส. โดยนายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร สว. ที่ลุกขึ้นอภิปรายคนแรก ได้อภิปรายว่า สว. ส่วนใหญ่ไม่รู้จัก นายเศรษฐา ทวีสิน และไม่แน่ใจเป็นคนดีหรือไม่ ไม่รู้ว่าเป็นใครมาจากไหน ตามจากข่าวก็เจอแต่ด้านลบตลอดนอกจากนั้นตนได้ยินข่าวมาว่ามีการซื้อขายกล้วยให้กับสว. เป็นคนดีๆ ไม่ชอบอยากจะเป็นลิง ไปกินกล้วยชาวบ้านเขา ตนว่าผิดคำสาบาน เดี๋ยวจะโดนลงโทษ

เวลา11.36 น. นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ลุกขึ้นอภิปรายตอนหนึ่งว่าการที่พรรคก้าวไกลไม่สามารถโหวจเห็นชอบนายเศรษฐาเป็นนายกได้ เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน ไม่ใช่ความพยายามสลายขั้ว แต่เป็นการต่อลมหายใจให้ระบบการเมืองที่ คสช.วางไว้

เวลา 11.50 น. พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม สว. อภิปรายว่า ตนมีความจำเป็นต้องให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพ่อไทย เพราะเป็น 1 ใน 2 พรรคที่ได้รับเลือกสูงสุดจากการเลือกตั้ง แม้ตนจะไม่มีความเชื่อมั่นพรรคเพื่อไทยว่าจะมีความเป็นอิสระก็ตาม ซึ่งเกิดคำถามว่ารัฐธรรมนูญ 2560 เป็นปัญหาอะไรกับพรรคเพื่อไทยถึงต้องมีนโยบายร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งตนมองว่าเพราะมีมาตการกลไกป้องกันการทุจริต ที่พรรคเพื่อไทยอาจจะไม่ต้องการ จึงขอให้พรรคเพื่อไทยยืนยันต่อรัฐสภาว่าจะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญทันที แต่จะเสนอในช่วงเวลาที่เหมาะสม เมื่อสังคมสงบ ไม่แตกแยก และไม่ไว้วางใจกัน หากยืนยันเช่นนี้ตนเป็น สว.คนหนึ่งที่จะโหวตให้นายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย

เวลา 12.30 น. นายคำนูณ สิทธิสมาน สว. อภิปรายว่า ในการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นแคนดิเดตสมควรที่จะได้รับการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีในวันนี้ ตนตัดสินใจลงมติให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร แต่ก็มีคำถามอีกว่านโยบายที่ จะให้คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมวาระแรกให้มีการออกเสียงประชามติสอบถามประชาชนว่า ให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่นั้น ถือเป็นภยันตรายต่อรัฐธรรมนูญและระบอบการปกครองหรือไม่ ซึ่งตนเห็นว่าสามารถทำได้ แต่เห็นว่าคำถามในประชามติควรจะต้องตรง ควรจะรับฟังความคิดเห็นจากทุกพรรคการเมืองและสมาชิกวุฒิสภาให้มากที่สุด และควรจะคำนึงถึงสาระสำคัญคือรูปแบบของส.ส.ร. และเมื่อส.ส.ร.ร่างเสร็จแล้วจำเป็นต้องผ่าน ที่ประชุมรัฐสภาเป็นครั้งสุดท้าย

จากนั้นเวลา 13.05 น. นายวันชัย สอนศิริ สว. อภิปรายว่า ตนมีหลักการว่าตราบใดก็ตามที่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยจากหน่วยงานหรือองค์กรใดวินิจฉับข้อกล่าวหาของบุคคลนั้น ต้องถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธ์อยู่ และยังมีกระบวนการตรวจสอบต่อไปได้ ดังนั้นตนจึงสนับสนุนพรรคการเมืองที่รวมเสียงข้างมาก และเสนอบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ โดยหวังว่าจะสามารถทำให้บ้านเมืองเดินต่อไปได้ และหวังว่าจะเกิดความรักความสามัคคีขึ้นจากรัฐบาลนี้ได้

"เพื่อไทย" เสนอชื่อ "เศรษฐา" ชิงนายกฯ

เวลา 10.58 น. ประธานรัฐสภาเปิดให้ สส.เสนอชื่อบุคคล ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อที่ประชุมรัฐสภา โดยนายชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นเสนอชื่อ นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยประธานรัฐสภากำหนดให้ สส.ที่ร่วมรับรองญัตติดังกล่าว เสียบบัตรแสดงตนเพื่อให้การรับรองแทนการยกมือรับรองญัตติ ได้เสียงรับรอง 287 คน และปรากฎว่าไม่มีการเสนอชื่อคนอื่นเป็นคู่แข่ง

จากนั้นประธานแจ้งว่าจะเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภาอภิปรายลักษณะและคุณสมบัติต้องห้ามผู้ถูกเสนอชื่อ โดย สว.ขอเวลา 2 ชม. สส.ขอเวลา 3 ชม ขณะที่พรรคก้าวไกลขอเวลา 30 นาทีในการอภิปราย และประธานยังเปิดขยายเวลาให้สมาชิกรัฐสถาที่ประสงค์อภิปรายขอเวลาเพิ่มเติมอีกได้

โหวตนายก : “ภูมิธรรม” มั่นใจเต็มร้อย วันนี้ได้นายกฯชื่อ “เศรษฐา” คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

"โรม" เสนอญัตติทบทวนมติโหวต "พิธา"

หลังจากนั้น ประธานรัฐสภา ได้เปิดโอกาสให้ นายรังสิมันต์ โรม สส.พรรคก้าวไกล เสนอญัตติด้วยวาจาเพื่อทบทวนและเพิกถอนมติที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ในการตีความข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 ที่กำหนดว่าญัตติใดเมื่อตกไปแล้วห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน ให้หมายรวมถึงการเสนอชื่อบุคคล ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย

โดยนายรังสิมันต์ ชี้แจงว่าญัตติดังกล่าวควรเป็นประเด็นที่ได้รับพิจารณาเป็นเรื่องด่วน ให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะมีการเสนอชื่อและลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีตามวาระที่ได้ลงกันต่อไป เพื่อให้เกิดความชัดเจนหากจะต้องมีการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเกิดขึ้นอีกก็สามารถเสนอกันได้ ไม่เข้าเงื่อนไขของข้อบังคับการประชุมข้อ 41 แต่อย่างใด พร้อมยืนยันว่าการเสนอญัตติดังกล่าว ไม่ได้เป็นความพยายามที่จะให้มีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯอีกครั้ง เพราะสถานการณ์ตอนนี้พรรคก้าวไกลไม่ได้อยู่ในสถานะเสนอชื่อใครเป็นนายกฯแล้ว 8 พรรคได้แยกย้ายกันไปแล้ว แต่เสนอญัตตินี้เพื่อให้กลับมาสู่ลู่ทางที่ถูกที่ควร

หลังจากนายรังสิมันต์ ได้นำเสนอญัตติดังกล่าวเป็นเวลา 13 นาที ประธานรัฐสภา ได้สรุปว่านายรังสิมันต์ได้นำเสนอให้สามชิกรัฐสภาเข้าใจในญัตติดังกล่าวพอสมควรแล้ว จึงให้จบการนำเสนอ ทำให้ สส.พรรคก้าวไกลประท้วงการทำหน้าที่ของประธานรัฐสภาว่าขัดขวางการอภิปรายของนายรังสิมันต์ และไม่เป็นกลางในการทำหน้าที่ ซึ่งประธานรัฐสภายืนยันว่าไม่ได้ขัดขวาง และยืนยันว่าวางตัวเป็นกลางแล้ว

กระทั่งประธานรัฐสภา ใช้อำนาจตามมารัฐธรรมนูญมาตรา 80 ให้อำนาจประธานรัฐสภาดำเนินกิจการของสภาเป็นไปตามข้อบังคับ จึงอาศัยข้อบังคับที่ 151 ประกอบมาตรา 5 จึงเห็นว่าควรจะไม่รับญัตติดังกล่าวที่นายรังสิมันต์เสนอ

เปิดประชุมรัฐสภา

เวลา 10.00 น. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภารัฐสภา เปิดประชุมรัฐสภา โดยประธานแจ้งต่อที่ประชุมเพื่อให้รับทราบ ผลการพิจารณาตามข้อสังเกตุของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัยพ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566

นอกจากนั้นประธานรัฐสภายังได้แจ้งผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่รับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ว่า กรณีรัฐสภา มีมติตีความว่าการเสนอชื่อบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบในรอบที่ 2 เป็นญัตติทั่วไป ต้องห้ามนำเสนอญัตติซ้ำอีกตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 หรือไม่

จับตา 3 วาระสำคัญการเมือง

นอกจากการประชุมรัฐสภาแล้ว วันเดียวกันนี้มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองอีกหลายเหตุการณ์ โดยเริ่ม ตั้งแต่ 09.00 น. เป็นกำหนดการที่ นาย ทักษิณ ชินวัตร ระบุว่า จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยเครื่องบินส่วนตัว และ จะลงจอดที่ สนามบินดอนเมือง ซึ่งบรรยากาศช่วง เวลา 22.40 น. มวลชนเสื้อแดงเริ่มทยอยมาปักหลักที่บริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง ใกล้กับอาคารลานจอดเครื่องบินส่วนตัว หรือ (m-jet)

จับตาอีเวนต์สำคัญ! สะท้อนนัยยะการเมืองไทย 22 ส.ค.นี้

ถ่ายทอดสด! เกาะติดสถานการณ์ "ทักษิณ" กลับไทย 22 ส.ค. 2566 เบื้องต้น มีการกางเต้นท์อยู่ริมถนน เทวฤทธิ์พันลึก หรือ บางส่วนก็ไปพักอยู่ในปั๊มน้ำมันใกล้กัน ขณะที่ ในพื้นที่ มีฝนตกลงมาต่อเนื่อง

เวลา 10.00 น. ศาลฎีกาฯ นัดอานคำพิพากษาอุทธรณ์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อมพวก 6 คน ในคดีฮั้วประมูลโครงการก่อสร้างโรงพักทดแทน-แฟลตตำรวจ 396 แห่ง โดยทั้งหมดจะต้องเดินทางไปฟังคำพิพากษาที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง บรรยากาศที่หน้าศาลฎีกาเมื่อคืนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ ได้มีการนำรั้วเหล็กมากั้นตรงริมบาทวิถีตลอดแนวรั้วของศาลฝั่งถนนราชดำเนินใน โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่ไว้สำหรับประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อความเป็นระเบียบ ตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีการจัดวางกำลังตำรวจ มีเพียงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่อยู่ภายในศาลเท่านั้น แต่จะมีการวางกำลังดูแลความปลอดภัยเต็มรูปแบบในช่วงเช้านี้

และอีกเหตุการณ์ ที่จะเกิดขึ้น คือ การโหวตนายกรัฐมนตรี ที่อาคารรัฐสภา ซึ่ง จะเปิดประชุม 10.00 น. และ เริ่มโหวตในเวลา 15.00 น. โดยครั้งนี้พรรคเพื่อไทย จะเสนอชื่อ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30

ซึ่งบรรยากาศ เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา บริเวณแยกเกียกกาย ถนนทหาร และทางเข้าออกรัฐสภา ยังไม่มีการปิดทางเข้าออก มีเพียงตู้คอนเทนเนอร์วางเป็นแถวยาวจากครั้งที่แล้วโดยรอบรัฐสภา และยังไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามายังพื้นที่

By admin

Related Post